วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Firmware Supernet

Firmware Supernet ครับ

FirmWare SUPERNET 18-04-2011 Update MGcamd extended port รองรับ USB WIFI

UPDATE FirmWare SUPERNET2010HD 07-09-2011

UPDATE FirmWare SUPERNET 15-08-2011

Firmware Openbox, Skybox

Firmware Openbox, Skybox

รวม Firmware ครับ

Openbox S10 tweak
Openbox S10 Hiden Home
Openbox S10 NDS

การใช้งาน MultiSwitch ร่วมกับ DiSEqC

การใช้งาน MultiSwitch ร่วมกับ DiSEqC

วันนี้จะมาพูดถึงกรณีที่ต้องการใช้ MultiSwitch 4x4 2 ตัวเพื่อใช้กับ Receiver 1 ตัวครับ
พอดีก่อนหน้านี้ผมมี MultiSwitch 4x4 1 ตัว ใช้งาน Thaicom C Band กับ Thaicom KU Band อยู่
แต่พอดีได้ Receiver จานส้มมาใช้งาน 1 ตัว เลยอยากให้ Receiver เดิมดูดาวเทียม NSS 6 ได้ และให้ Receiver จานส้มดู Thaicom C Band ได้ (เผื่อเวลาเมฆเยอะ จะได้ไม่โดนบ่น 555) เลยคิดว่าถ้าจะทำอย่างนั้น ต้องเปลี่ยน MultiSwitch เป็น 6x4 ซึ่งราคาก็สูงพอสมควร เลยคิดว่าจะลดค่าใช้จ่ายยังไง สรุปคือผมไปซื้อ MultiSwitch 4x4 มาอีก 1 ตัว กับ DiSEqC มาอีก 3 ตัว ลืมบอกไปว่าเดิมผมมี Receiver ที่ใช้งานอยู่ 2 ตัว
รูปแบบการต่อก็ตามรูปครับ สำหรับ Receiver ตัวแรก ส่วน Receiver ตัวอื่นก็ต่อเหมือนกัน แค่จาก DiSeqC มายัง MultiSwitch ก็เปลี่ยนไปยัง Port ที่ 2 และ 3 ตามลำดับครับ



ส่วนการตั้งค่าที่ Receiver ตั้งค่าตามนี้เหมือนกันทุกเครื่องครับ

ดาวเทียม 22 kHz DiSEqC
ThaiCom C Band ปิด A/A หรือ Port 1
ThaiCom KU Band เปิด A/A หรือ Port 1
NSS6 ปิด A/B หรือ Port 2

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

Image Dreambox Gemini 4.6

Image Dreambox Gemini 4.6

Download File สกุล Img Thai Gemini 4.60
Download File สกุล FW2 Gemini460_MenuThai
Download File Update Bouquet Bouquet_Update_2011-07-12.tar.gz

Download Program DCC DCC2.94


Image ตัวนี้ เป็น Gemini Version 4.60 ซึ่งใช้งานได้ดี ขาดแต่ Boot Logo ที่ไม่แสดงเท่านั้นครับ

การใช้งาน ให้ดำเนินการ Dreamup File สกุล Img ก่อน แล้ว ใช้ Flash Wizard แฟลช File สกุล FW2 หลังจากนั้นให้ใช้ Program DCC ทำการ FTP File Update Bouquet ไปไว้ที่ /tmp และทำการ Manual Add-ons ที่เครื่อง Dreambox เพื่อทำการ Update ช่องครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้งาน Power Pass

การใช้งาน Power Pass หรือ Satellite Splitter

PowerPass เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้ LNBF 1 Port สามารถใช้งานกับ Receiver มากกว่า 1 เครื่อง
ซึ่งข้อจำกัดของ Power Pass คือ Receiver ทุกเครื่องจะสามารถรับสัญญาณจาก LNBF ได้เพียงแนวเดียว

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

LNBF

LNBF

อุปกรณ์ที่เรียกว่า LNBF เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากจานดามเทียม และจะทำการส่งต่อให้ Receiverซึ่งสัญญาณที่รับมาจะมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบ C-Band หรือ Ku-Band ซึ่งแต่ละระบบนั้นก็จะมีการส่งสัญญาณในแนว Horizontal(แนวนอน) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าแนว Hor และแนว Vertical(แนวตั้ง) หรือที่เรียกสั้นๆว่า Ver
ซึ่งการควบคุมว่าจะส่งสัญญาณนวไหนนั้นจะใช้ไฟเลี้ยงจาก Receiver เป็นตัวกำหนด โดยแนว Hor Receiver จะส่งไฟเลี้ยง 18 Vไปที่ LNBF และ
แนว Ver Receiver จะส่งไฟเลี้ยง 13 Vไปที่ LNBF

โดยปกติ LNBF 1 Port จะใช้งานได้กับ Receiver 1 เครื่องเท่านั้น แต่หากมีการใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมก็จะแก้ไขข้อจำกัดนี้ได้ เช่น DiSEqC, Power Pass, MultiSwitch เป็นต้น

ตัวอย่าง LNBF รูปแบบต่างๆ

LNBF C Band 1 Port

LNBF C Band 2 Port (จะมี 2 แบบ คือ ทั้ง 2 Port สามารถใช้งานแนว Hor และ Ver ได้ ส่วนอีกแบบคือ จะแยกเป็นแนว Hor 1 Port และแนว Ver 1 Port)

LNBF C-KU (ตามรูปจะมีย่าน C Band 2 Port และย่าน KU 1 Port)

LNBF KU 1 Port

LNBF KU 2 Port


LNBF KU 4 Port

การใช้งาน MultiSwitch

การใช้งาน MultiSwitch

อุปกรณ์ MultiSwitch เป็นอุปกรณ์ที่จะทำให้เครื่อง Receiver มากกว่า 1 เครื่อง รับสัญญาณจากจานดาวเทียมมากกว่า 1 จาน ซึ่งการใช้งานจะมีการตั้งค่าหลัก ไฟเลี้ยง, ความถี่, การตั้งค่า DiSEqC จาก Receiver ที่ส่งไปยัง LNBF เป็นตัวควบคุมการเชื่อมต่อกับ LNBF ว่าจะให้ตัวไหนทำงาน

แต่ข้อจำกัดของ MultiSwitch ที่ใช้ไฟเลี้ยงควบคุมการเชื่อมต่อคือ LNBF 1 Port จะใช้งานได้เพียงแค่แนวเดียว ซึ่งเกิดจาก การเชื่อมต่อระหว่าง Receiver กับ LNBF ในแนว Hor Receiver จะทำการจ่ายไฟเลี้ยงไปที่ LNBF ด้วยไฟ 18 V เท่านั้น และแนว Ver ก็จะจ่ายไฟเลี้ยง 13 V เท่านั้น ซึ่งทำให้ Port ที่ MultiSwitch ที่เป็น Port 18 V 0 kHz และ 18 V 22 kHz จะใช้งานได้แค่แนว Hor เท่านั้น และ Port 13 V 0 kHz และ 13 V 22 kHz ก็จะใช้งานได้เพียงแนว Ver เช่นกัน ทำให้ส่วนใหญ่การใช้งานต้องใช้ LNBF ที่มี 2 Port กรณีที่จะใช้งานทั้ง 2 แนวของการรับดาวเทียมดวงเดียวกันย่านเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นดาวเทียม Thaicom 5 ย่าน C Band จะมีการส่งทั้ง 2 แนว เช่นช่อง ModernNine จะส่งย่าน Hor ช่อง 3 จะส่งย่าน Ver หากต้องการรับชมรายการทั้ง 2 ช่องนี้โดยต่อผ่าน MultiSwitch จะต้องใช้ LNBF C Band 2 Port โดย Port แรกรับสัญญาณแนว Hor และอีก Port ใช้รับสัญญาณแนว Ver


รูปการต่อใช้งาน MultiSwitch แบบ 4x4


การตั้งค่าที่ Receiver
- LNBF Port ที่ 1 ให้ตั้งค่าเป็น 18 V 0 kHz
- LNBF Port ที่ 2 ให้ตั้งค่าเป็น 13 V 0 kHz
- LNBF Port ที่ 3 ให้ตั้งค่าเป็น 18 V 22 kHz
- LNBF Port ที่ 4 ให้ตั้งค่าเป็น 13 V 22 kHz

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้งาน DiSEqC

DiSEqC Switch

โดยปกติเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจะสามารถใช้งานได้กับจานดาวเทียม(LNBF)เพียง 1 จานเท่านั้น
DiSEqC คืออุปกรณ์ที่ทำให้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมสามารถเชื่อมต่อกับจานดาวเทียม (LNBF) มากกว่า 1 จาน
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ท่านมี จานรับสัญญาณจาก Thaicom 5 C Band(จานดำ) 1 จาน, จานรับสัญญาณจาก Thaicom 5 KU Band(จานแดง, จานเหลือง) 1 จาน, จานรับสัญญาณจาก NSS6 KU Band(จานส้ม, จาน ASTV) 1 จาน โดยปกติท่านใช้เครื่องรับสัญญาณ 1 เครื่องต่อ 1 จาน โดยแต่ละเครื่องจะดูได้เพียงจากจานที่ต่อไว้เท่านั้น หากท่านต้องการให้สามารถดูทั้ง 3 จานผ่านเครื่องรับสัญญาณก็จะสามารถใช้ DiSEqC เป็นตัวสวิทช์เพื่อเลือกจานได้ โดยทั้งนี้เครื่องรับของท่านจะต้องสามารถเพิ่มดาวเทียมและสามารถใช้งาน DiSEqC โหมดได้


การใช้งาน

- ทำการต่อ LNBF ที่ใช้งานเข้าที่ Port LNB ของ DiSEqC
- ทำการต่อ Satellite Receiver เข้าที่ Port Receiver ของ DiSEqC
- ทำการตั้งค่าที่ Receiver โดยที่กำหนดดังนี้
Port 1 ของ DiSEqC ตั้งค่าที่ Receiver เป็น Port 1 หรือ A/A
Port 2 ของ DiSEqC ตั้งค่าที่ Receiver เป็น Port 2 หรือ A/B
Port 3 ของ DiSEqC ตั้งค่าที่ Receiver เป็น Port 3 หรือ B/A
Port 4 ของ DiSEqC ตั้งค่าที่ Receiver เป็น Port 4 หรือ B/B

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำสาย Null Modem

การทำสาย Null Modem

อุปกรณ์ใช้ทำสาย Null Modem
- หัว DB-9 ตัวเมีย 2 ตัว
- สายไฟ (มีสายภายใน อย่างน้อย 3 เส้น) 1 เส้น

วิธีการต่อสาย ระหว่างหัว DB-9
- ขา 2 ต่อ ขา 3
- ขา 3 ต่อ ขา 2
- ขา 5 ต่อ ขา 5

การใช้งาน โปรแกรม Flash Wizard PRO 6.3

การใช้งานโปรแกรม Flash Wizard PRO 6.3

1. Download Program Flash Wizard PRO 6.3

2. เปิดโปรแกรม Flash Wizard PRO 6.3 ขึ้นมา



3. กดที่ปุ่ม Configuration and Utilities


- วิธีการเช็คว่าสามารถเชื่อมต่อกับตัวเครื่อง Dreambox ได้หรือไม่ โดยให้กดที่ SmartTelnet


- จะปรากฏหน้าต่างสีดำขึ้นมาดังรูป แสดงว่าสามารถทำการเชื่อมต่อกับเครื่อง Dreambox เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ปิดหน้าต่างนี้ได้เลย


วิธีการ Flash Image และการ Backup Image

การทำ Backup Image เพื่อเป็นการเก็บ Image ตัวต้นฉบับไว้เพื่อนำกลับมาใช้ในภายหลังเวลาเครื่อง Dreambox มีปัญหา ซึ่งไฟล์ Image นี้จะทำการเก็บค่าต่างๆ ที่เราได้ทำการตั้งค่าไว้ให้กลับมาเหมือนเดิม กล่าวง่ายๆ ก็คือเมื่อเราทำการ Flash Image ตัวที่เราได้ทำ Backup ไว้ เครื่อง Dreambox ก็จะสามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมอีกครั้ง

A. ขั้นตอนการทำ Backup Image
1. ให้กดที่ Install a firmware into FLASH memory แล้วเลือกที่ Flash Image Backup


2. จากนั้นได้ทำการตั้งชื่อไฟล์ และทำการเลือกที่จัดเก็บ แล้วทำการ Save


3. การทำ Flash Image คือ การที่เราต้องการที่จะปรับปรุงเวอร์ชั่นของตัว Dreambox หรือในกรณีที่เครื่อง Dreambox เริ่มมีปัญหาในการใช้งาน



B. ขั้นตอนการทำ Flash Image
1. ให้กดที่ Install a firmware into FLASH memory แล้วเลือกที่รูปโฟเดอร์สีเหลืองเพื่อทำการหาไฟล์ Image ที่เราต้องการ Flash ซึ่งมีนามสกุลเป็น .fw2 หรือ .img


2. จะมีหน้าต่างขึ้นยืนยันว่าต้องการที่จะ Flash หรือไม่ ถ้าต้องการให้กดที่ Yes หรือถ้าไม่ต้องการให้กด No


3. เมื่อเราตอบตกลงก็จะมีแถบสีน้ำเงินขึ้นมาซึ่งหมายถึงกำลังทำการ Flash ข้อมูลลงใน Memory ในตัวเครื่อง Dreambox อยู่ ให้รอจนกว่าจะเสร็จ



4. เมื่อเครื่องได้ทำการ Flash เรียบร้อยแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาว่าได้ทำการ Flash สมบูรณ์แล้ว ให้กด OK ได้เลย




5. หลังจากทำการ Flash Image เป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ทำการดึงปลั๊กไฟของตัว Dreambox ออกครั้งหนึ่งแล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ เครื่องก็จะทำการ Reboot ใหม่ขึ้นมา

การใช้งาน โปรแกรม Dream Up

วิธีการแฟลช Image ด้วยโปรแกรม DreamUp

1-Download โปรแกรม Dreamup

2-เชื่อมต่อ Dreambox กับ Computer ด้วยสาย Null Model แต่ยังไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟ Dreambox.

3-เปิดโปรแกรม DreamUp แล้ว คลิ๊ก ที่ปุ่ม Connect



4-เสียบปลั๊ก Dreambox โปรแกรมจะเริ่มแสดงผลการเชื่อมต่อระหว่าง Computer กับ Dreambox.



5-ในการแฟลช ไม่จำเป็นต้อง Flash Erase ก่อนการแฟลช เพราะ DreamUp จะทำการ Erase เองถึง 2 ครั้งในระหว่างแฟลช

6-กดปุ่ม FLASH และเลือก Image ที่จะใช้แฟลช



7-กดปุ่ม Ja=Yes เมื่อมีหน้าต่างสอบถาม



8-โปรแกรมจะอัพโหลด Image ไปยัง Dreambox



9-โปรแกรมจะเริ่มด้วยการ Flash Erase.



10-กำลังแฟลช image จากไฟล์ที่เก็บไว้ที่memory



11- Flash Erase ครั้งที่สอง



12-กระบวนการแฟลช Image เสร็จสิ้น